ข้อมูลทั่วไปของอำเภอขุขันธ์


ขุขันธ์เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีหลวงพ่อโตวัดเขียน

กระอูบเกวียนครุน้อยเครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโดนตา


1.1 ความเป็นมาของอำเภอขุขันธ์
          อำเภอขุขันธ์” ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดศรีสะเกษ  เป็นอำเภอเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่มากับการตั้ง “เมืองขุขันธ์” ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นอำเภอต่างๆ หลายอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันโดยก่อนปี พ.ศ.2481 ใช้นามว่า “อำเภอห้วยเหนือ” ขึ้นต่อการปกครองของเมืองขุขันธ์
        ในปี พ.ศ.2306 ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตรงกับรับสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าเอก - ทัศน์หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น “เมืองขุขันธ์” ให้มีเจ้าเมืองปกครองโดยแบ่งการปกครองที่ย่อยขั้นต่ำลงไปจากเมืองเป็น 3 ระดับ
            1.เมือง  มีเจ้าเมือง  มีบรรดาศักดิ์ระดับ “พระ”  “พระยา” หรือ ”เจ้าพระยา” ปกครองเมือง
            2.แขวง  มีนายแขวง  บรรดาศักดิ์ระดับ  “หมื่น” “ขุน” หรือ “หลวง” เป็นผู้ปกครอง
            3.ตำบล   มีกำนัน  มีบรรดาศักดิ์ระดับ “หมื่น” หรือ   “ขุน” เป็นผู้ปกครอง
            4.หมู่บ้าน  มีผู้ใหญ่บ้าน  มีบรรดาศักดิ์ระดับ “พัน” หรือ “หมื่น” เป็นผู้ปกครอง
                
 เมืองขุขันธ์ในระยะแรกปกครองแบบจตุสดมภ์  โดยมีเจ้าเมืองปกครองถือเป็นหัวเมืองชั้นนอก พ.ศ. 2443   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองให้เป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหน่วยการปกครองใหม่จากเดิมเป็น  “เมือง”  “อำเภอ”  “ตำบล”  และ หมู่บ้าน  จากผลการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้เกิดหน่วยการปกครองที่เรียกว่า “อำเภอ”  ขึ้นคือ “อำเภอห้วยเหนือ” ขึ้นต่อเมืองขุขันธ์ มาจนถึงปลายปี พ.ศ. 2449 ได้มีการย้ายที่ทำการศาลากลางเมืองขุขันธ์ไปตั้งอยู่ที่อำเภอกลางศรีสะเกษและยังคงใช้นามว่า “ศาลากลางเมืองขุขันธ์” ส่วนอำเภอห้วยเหนือยังคงตั้งอยู่ที่เดิม
            พ.ศ. 2459 ได้มีการเปลี่ยนแปลงนามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศเป็น “จังหวัด” เมืองขุขันธ์จึงมีนามว่า “จังหวัดขุขันธ์” ส่วนอำเภอห้วยเหนือยังคงใช้นามเดิมและขึ้นต่อจังหวัดขุขันธ์
            พ.ศ. 2481 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนาม “จังหวัดขุขันธ์” เป็นนามจังหวัดศรีสะเกษและเพื่อรักษาเกียรติประวัติของเมืองขุขันธ์  อันเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอีสานใต้จึงได้เปลี่ยนนาม “อำเภอห้วยเหนือ” เป็นอำเภอขุขันธ์ขึ้นต่อจังหวัดศรีสะเกษมาจนถึงปัจจุบันและเนื่องจากพื้นที่การปกครองของอำเภอขุขันธ์กว้างขวางมาก  จึงได้มีการแบ่งหรือแยกพื้นที่บางส่วนที่เป็นตำบลรวมตั้งเป็นกิ่งอำเภอและได้ยกฐานะเป็นอำเภอต่างๆ อาทิ
            พ.ศ. 2498 แยกตำบลในเขตอำเภอขุขันธ์ คือ  ตำบลขุนหาร  สิ  บักดอง  กระหวัน   กันทรอม ไปรวมกับ 2 ตำบล  ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ คือ  ตำบลพรานและตำบลไพร  และบางหมู่บ้านในเขตตำบลละลายตั้งเป็น “กิ่งอำเภอขุนหาญ” และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.  2501
            พ.ศ. 2504  แยกตำบลกู่  พิมาย  หนองเชียงทูนและสมอ  รวมตั้งเป็นกิ่งอำเภอปรางค์กู่  และยกฐานะเป็นอำเภอปรางค์กู่เมื่อปี พ.ศ. 2506
            พ.ศ. 2511 แยกตำบลไพรบึง  ปราสาทเยอ  ดินแดง  และสำโรงพลัน  ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอไพรบึง
ยกฐานะเป็นอำเภอไพรบึงเมื่อ ปีพ.ศ. 2518
            พ.ศ. 2534 แยกตำบลโคกตาล   ละลม  ตะเคียนราม  ห้วยตามอญและไพรพัฒนา ตั้งเป็น “กิ่งอำเภอภูสิงห์” และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ ปี พ.ศ. 2538
                นายอำเภอคนปัจจุบัน นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา
                สาธารณสุขอำเภอขุขันธ์ นายปัญญา พละศักดิ์
                ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุขันธ์ นายประวิทย์ เสรีขจรจารุ
                นายกเทศมนตรีห้วยเหนือ นายสืบสวัสดิ์ สืบสายพรหม
                ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  ถ.ไกรภักดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ 33140
                หมายเลขโทรสาร  0-4567-1004
                หมายเลขโทรศัพท์  0-4567-1004



1.2 จำนวนประชากรของตำบล
          อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีประชากร 151,080 คน ( ข้อมูล ณ มิ.ย.2549 )
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น  รวม 151,080  คน
2.จำนวนประชากรชาย  รวม 75,361 คน
3.จำนวนประชากรหญิง   รวม 75,719 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร  201.38 คน/ตารางกิโลเมตร
5.ประชากรเฉลี่ย 5.92 คน / หลังคาเรือน

1.3 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังหิน
ทิศใต้ ติดต่ออำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญและประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอไพรบึงอำเภอขุนหาญ
ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอปรางค์กู่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
1.4 การปกครอง
ข้อมูลการปกครอง
มีการปกครองเป็น ลักษณะ คือ
2.1 การปกครองส่วนภูมิภาค : 22 ตำบล 276 หมู่บ้าน 25,518 หลังคาเรือน
2.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น : เทศบาลตำบล แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบล 22 แห่ง 



ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่   การเกษตรกรรมมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น  465,777 ไร่ ครอบครัวเกษตรกรจำนวน 21,468 ครอบครัว ปลูกพืชทางการเกษตรในพื้นที่ปริมาณมากที่สุดถึงร้อยละ 95  ของพื้นที่การเกษตร คือ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกไม้ผลและปลูกปอตามลำดับ 
2.อาชีพเสริม ได้แก่ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น จัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มผลิตภัณฑ์จากมือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ครุน้อย กลุ่มผลิตภัณฑ์เกวียนน้อย และ กลุ่มผลิตอบใบตาล 
3.จำนวนธนาคาร  มี 6 แห่ง ได้แก่
ธนาคารกรุงเทพ โทร.0-4567-1132
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ โทร.0-4563-0653
ธนาคารออมสิน โทร.0-4563-0505
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารกสิกรไทย
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 1 แห่ง
Tesco Lotus
ด้านสังคม
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่
โรงเรียนขุขันธ์  โทร.0-4567-1249
โรงเรียนขุขันธ์ราษฏร์บำรุง โทร.0-4563-0221
โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังค์
โรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย 
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
ลำห้วยสำราญ ลำห้วยศาลา ลำห้วยตึ๊กชู  
ด้านการคมนาคม
1.ทางบก
รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  224
สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  0-4567-1013
สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  -
2.ทางน้ำ
ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  -
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ปอ พริก มะม่วงแก้ว 
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ (แม่น้ำ/บึง/คลอง)
1)ลำห้วยสำราญ
2)ลำห้วยศาลา
3) ลำห้วยเหนือ
4)ลำห้วยติ๊กชู
5) อ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 06 
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่
อุตสาหกรรมโรงงานทำปุ๋ยชีวภาพ  จำนวน 11  แห่ง 
1.5 ศาสนา
ประชากรร้อยละ 99.99 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.01

1.6 ลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ
          - ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ตอนกลางของตำบลลงมาทางใต้เป็นที่ดอน ส่วนทางตอนเหนือ และทางด้านตะวันตกเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี อากาศร้อนอบอ้าว
                   - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ของทุกปี จะมีฝนตกชุกและบางปีได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

          - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี อากาศทั่วไปจะหนาวเย็นถึงหนาวจัดในช่วงบางปี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น